นิทรรศการงานบุญทุนทางวัฒนธรรม จัดขึ้นที่ห้องนิทรรศการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด
อุบลราชธานี ได้มีโอกาสร่วมแสดงผลงานกับเหล่าครูอาจารย์สถาบันต่างๆ และนักออกแบบอิสระหลาย
คน ด้วยการติดต่อจากอาจารย์ที่รู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี
เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับงานบุญประเพณีอีสาน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่จะนำความคิดตรงนี้มาออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ต่อยอดความคิด
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh28LzrE76U4Ckg3vDT_uBlewZHTR0vGc9z27IQ40-Rr3mbi70vn6vJ0nU-FYasshiaGc_Ba0GlCl1_fSW6TPp3ywshVOJ9rnpEdRLLS6m4ZZPf_GxOR2DMwS_35hPMl-VQ-a9RBKeP654/s320/1mini.jpg)
แรกเริ่มนั้นคิดที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองกำลังถนัด และกำลังทำอยู่คือ ลายเสื้อสกรีน โดยคิดที่จะทำทั้งหมด
12 ลาย ให้ครบตามจำนวนบุญ แต่ก็คิดต่อว่าแล้วลายสกรีนนั้นถือเป็นการพัฒนา หรือเป็นผลิตภัณฑ์
ด้วยไหม? จึงต้องลองคิดเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น และสุดท้ายก็ต้องจบที่ลายสกรีนอยู่ดี เพราะงาน
ออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นงานที่ไม่ค่อยถนัด อีกทั้งรายละเอียดที่จะต้องศึกษานั้นเยอะ ทั้งเรื่องรูปร่าง
รูปทรง วัสดุ พื้นผิว ความต้องการของผู้ใช้ ความสะดวก ความคงทน ฯลฯ
แต่ในเรื่องของประเภทเสื้อที่จะใช้สกรีนกับลายนี้ อยากได้เป็นเสื้อม่อฮ่อม หรือเสื้อที่คนส่วนใหญ่ใช้จริง
เกษตรกรได้ใช้จริง ไม่ได้หวังไว้ว่าต้องเป็นกลุ่มเด็กวัยรุ่น วัยทำงาน ที่จะใส่เสื้อยืด มันคงจะดีที่เสื้อม่อฮ่อม
มีลายสกรีนติดอยู่ด้านหลัง แต่พอคิดถึงความเป็นจริงแล้วการที่เกษตรกรจะเลือกสวมเสื้อเพื่อใช้ทำงาน
ที่จะต้องเลอะทั้งฝุ่น ทนทั้งแดดแรง และดินหรือโคลนที่อาจกระเด็นมาใส่ เรื่องของความสวยงามอย่าง
ลายสกรีนก็ต้องถูกตัดออกไปโดยทันที หันกลับมามองว่าลายสกรีนอย่างเรามันก็ต้องหนีไม่พ้น สิ่งสวยงาม
อย่างเสื้อยืดที่เป็นสิ่งที่ช่วยให้คนสามารถบ่งบอกความชอบ รสนิยม ความเป็นตัวตนของผู้สวมใส่ ได้
อย่างดี แต่สามารถนำไปใช้กับอย่างอื่นได้เช่น กระเป๋า สมุด ฯลฯ
สามารถชมผลงานได้ที่
ศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี